วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติลีลาศ



             ในอดีตลีลาศถูกจัดเป็นกิจกรรมเพื่อความบันเทิงของคนในสังคมชั้นสูง ตามตำราในหนังสือลีลาศของพิชิต ภูติจันทร์ ได้เขียนไว้ว่า แต่เดิมเรียกว่า เต้นรำ  ซึ่ง ม.จ.วรรณไวทยากรวรวรรณ ท่านบอกว่า คำว่า “เต้นรำ” เมื่อผวนแล้วฟังดูไม่ไพเราะเสนาะหูเท่าไรนัก จึงเปลี่ยนใช้เป็น “ลีลาศ” และใช้กันจนกระทั่งบัดนี้

ลีลาศกีฬาราคาประหยัด         
              ลีลาศ เป็นกีฬาที่ลงทุนน้อย และไม่ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ยุ่งยากเหมือนกับกีฬาชนิดอื่น ถือเป็นกีฬาประเภทประหยัดทรัพย์ก็ว่าได้ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมใดๆ ให้สิ้นเปลืองเงินทอง เพียงแต่คุณผู้หญิงควรสวมกระโปรงพลิ้วมีจีบเพื่อเวลาเต้นจะช่วยให้ดูอ่อนช้อย สวยงาม กับรองเท้าคัชชูหรือรองเท้ารัดข้อ เพียงเท่านี้ก็สามารถลงฟลอร์ได้อย่างมั่นใจแล้วล่ะค่ะ เพราะเหมาะกับสาวออฟฟิศที่ไม่ค่อยมีเวลาแต่อยากจะออกกำลังกายดูแลสุขภาพ ถือเป็นกีฬาที่เรียกเหงื่อ แต่ไม่ปรากฏกลิ่นเหงื่อเท่ากับกีฬาชนิดอื่น ๆ


ประเภทของจังหวะลีลาศ ได้แก่
Standard ประกอบด้วย 5 จังหวะ
  • วอลซ์ (WALTZ) นอกจากการนับจังหวะจะใช้คำว่า “พั่ม- แท็ก-แท็ก” แทน หนึ่ง-สอง-สามแล้ว จุดเด่นอีกข้อคือ มีการสวิงท่วงท่าแกว่งไกวคล้ายนาฬิกาลูกตุ้ม นุ่มนวล ไปตามจังหวะของดนตรีที่ออกแนวโรแมนติกชวนฝัน
  • แทงโก้ (TANGO) เป็นจังหวะเน้นการเคลื่อนไหวของศีรษะและไหล่ มีการสับเปลี่ยนอย่างทันทีทันใด จากการเคลื่อนไหวสู่ความสงบนิ่ง ให้ความรู้สึกมั่นคง น่าเกรมขาม
  • เวียนนิสวอลซ์ (VIENNESE WALTZ) (เฉพาะแข่งขัน) จะเป็นในลักษณะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Rotating Dance) เหมือนกับการโคจรที่หมุนโดยรอบอย่างอิสระ
  • สโลว์ ฟอกซ์ทรอท ( SLOW FOXTROT) ที่ถือกันว่า เป็นหัวใจหลักของการเต้นรำแบบบอลรูม หากคุณมีความแม่นยำและเต้นจังหวะนี้ได้ดี ก็เท่ากับว่าคุณเต้นจังหวะอื่นได้ดีไม่แพ้กัน จังหวะการเคลื่อนไหวมีทั้งช้าและเร็วผสมกันที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการดัน (Pushing) และการดึง (Pulling) ของการก้าวเท้าของกันและกันอย่างแยบยล
  • ควิ๊กสเต็ป (QUICKSTEP) ที่เรียกกันชื่อเต็มว่า ควิ๊กไทม์ ฟอกซ์ทรอท ชาร์สทั่น  ( Quicktime Foxtrot and Charleston) เป็นจังหวะที่บรรดาเท้าไฟทั้งหลายยกย่องว่าสนุกแบบไร้ขีดจำกัดในเรื่องของความเร็ว และความเคลื่อนไหว เน้นที่ความกระฉับกระเฉง ตื่นตัว
Latin America ประกอบด้วย 5 จังหวะ
  • แซมบ้า (SAMBA) ในอดีตจะยึดหลักของ “บราซิลเลี่ยนแซมบ้า” ที่เน้นเต้นไปทางแนวพาเหรด ที่กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกลุ่มหลง คลั่งไคล้ แต่ในปัจจุบันการเต้นผิดเพี้ยนไปแต่ก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นแซมบ้านั่นคือ ความมีชีวิตชีวา เน้นการใช้และผ่อนคลายน้ำหนัก เพื่อให้เกิดความสมดุลในการใช้ร่างกายให้เข้ากับจังหวะ
  • ช่า ช่า ช่า (CHA CHA CHA) เป็นจังหวะที่กระจุ๋มกระจิ๋ม เป็นจังหวะแรกของการเริ่มเรียน เหตุผลเพราะคนทั่วไปรู้จักและคุ้นเคยกับจังหวะสามช่า เป็นจังหวะที่สนุกสนาน เต้นได้ง่ายและเป็นเร็ว เกิดความรู้สึกดีและคุ้นเคยกับลีลาศได้เร็วกว่าจังหวะอื่น เหมือนเป็นใบเบิกทางที่บอกให้รู้ว่าลีลาศกำลังได้เริ่มขึ้นแล้ว
  • รุมบ้า (RUMBA) เน้นการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายแสดงออกโดยใช้การส่ายสะโพกเป็นสื่อว่าตนนั้นคิดอย่างไรกับอีกฝ่าย การเต้นจังหวะนี้จะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหนักจากเท้าหนึ่งไปสู่อีกเท้าหนึ่งร่วมกับการบิดเอี้ยวของลำตัว เพื่อให้บรรลุถึงความเป็นรุมบ้าอย่างแท้จริง
  • พาโซโดเบล์ (PASO DOBLE) เป็นจังหวะเต้นรำที่ชาวสเปนภูมิใจนำเสนอ คือ การเดินมาร์ช (Marching) ที่มั่นคงและตรงทิศทาง แต่มีรูปแบบการเต้นแบบฟลามิโก้ (Flamenco) ที่เน้นลำตัวและท่วงท่าต่างๆ โดยใช้ลีลาของแขน ข้อศอก ข้อมือ รวมถึงนิ้วมือ เป็นต้น
  • ไจว์ฟ (JIVE) เป็นการเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิง ที่พัฒนาขึ้นจากหลายจังหวะรวมกัน เช่น  Rock ‘N’ Roll BOGIE AFRICAN และ AMERCIAN SWING เน้นที่การดีด สะบัด เตะปลายเท้า 
        
เครื่องแต่งกายในการแข่งขัน
             สำหรับ การแข่งขันทั้งหมดที่ได้จัดขึ้นโดย สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ภายใต้กติกาข้อที่ 5 การแต่งกายของผู้เข้าแข่งขัน ให้ปฏิบัติสอดคล้องกับ ระเบียบการแต่งกายของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ระเบียบการแต่งกายสำหรับการแข่งขันของสหพันธ์ฯ เหล่านี้ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของกติกาการแข่งขัน ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ
สำหรับทุกๆ เกณฑ์อายุ : ส่วนสะโพกของฝ่ายหญิง ต้องปกปิดไว้ให้มิดชิดตลอดเวลา ประธานกรรมการ หรือผู้อำนวยการฝ่ายกีฬา ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ มีอำนาจที่จะตัดสิทธิ์คู่แข่งขัน ที่สวมใส่ชุดแข่งขันที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบของข้อนี้ นอกเหนือจากนี้แล้ว คณะกรรมการบริหารของสหพันธ์ฯ จะลงโทษทางวินัย ไม่ให้สิทธิ์คู่แข่งขัน เข้าร่วมในการแข่งขันต่างๆ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
 คู่แข่งขัน
1. คำจำกัดความของคู่แข่งขัน
 คู่แข่งขัน 1 คู่ จะประกอบด้วย ชาย 1 คน และคู่เต้นที่เป็นหญิง 1 คน
2. คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน
  1.1 คู่แข่งขันที่เคยเป็นตัวแทนประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่อนุญาตให้เป็นตัวแทนของประเทศอื่นอีก จนกว่าเวลาจะผ่านพ้นไป 12 เดือน
  2.2 ในกรณีที่เป็นการแข่งขัน ที่จัดโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ( IOC ) หรือสมาคมเวิลด์เกมส์นานาชาติ ( IWGA ) ไม่อนุญาตให้คู่แข่งขันที่ต่างสัญชาติกัน เข้าร่วมทำการแข่งขัน เพื่อให้เป็นไปตามกฎของคณะกรรมการโอลิมปิคสากล คู่แข่งขันที่เป็นตัวแทนของชาตินั้น นักแข่งขันแต่ละคน จะต้องมีหนังสือเดินทางของชาติของตน ซึ่งส่งโดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของ สหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ 
  2.3  การแข่งขันชิงถ้วย Formation ของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ ( IDSF Championships / Cups Formation ) อย่างน้อยต้องมีนักกีฬาเข้าแข่งขันจำนวน 12 คน ในหนึ่งทีม ที่จะต้องจัดส่งหนังสือเดินทางของชาติตนเอง โดยสมาคมที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ฯ
 วิธีการจัดการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ
1.  ประธานกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง จากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง) ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมดูแล การแข่งขันที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ ในการแข่งขันนานาชาติใด ที่ประธานกรรมการไม่ได้ถูกแต่งตั้งโดยสหพันธ์ ผู้จัดการแข่งขันจะต้องแต่งตั้งประธานเอง (โดยไม่ต้องผ่านการเลือกตั้ง)
2. กรรมการผู้ตัดสินในการแข่งขันระดับนานาชาติต่างๆ จะต้องมีกรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินอย่างน้อย 7 คน โดยเป็นไปตามกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1, 2, 4 a - c และ 7 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 5 คน ในข้อย่อยที่ 3, 5, 6 และ 8 กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน ในการแข่งขันประเภท ทีม - คู่ ( Team Matches )
3. สำหรับการแข่งขันต่างๆ ที่อยู่ภายใต้กติกาข้อที่ 5 ยกเว้นข้อย่อยที่ 5 และ 6 กรรมการผู้ตัดสินของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ จะต้องมีใบอนุญาตเป็นผู้ตัดสินของสหพันธ์ฯ 
4. กรรมการผู้ตัดสินของการแข่งขัน ครอบคลุมโดยกติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4 a+b, 7 และ 8 จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ กรรมการผู้ตัดสินอย่างน้อย 7 คน ในการตัดสินการแข่งขันระดับนานาชาติ 
5. สำหรับการแข่งขันภายใต้กติกาข้อที่ 5 ข้อย่อยที่ 1-4, 7 และ 8 คณะกรรมการผู้ตัดสินจะต้องเชิญจากประเทศต่างๆ ที่ไม่ซ้ำกัน
6. ในทุกๆ การแข่งขันระดับนานาชาติ คณะกรรมการผู้ตัดสิน จะต้องได้รับการรับรองเป็นทางการ โดยคณะกรรมการบริหารของสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ 
7. ไม่อนุญาตให้กรรมการผู้ตัดสิน ทำหน้าที่ตัดสินคู่ของตัวเอง ในการแข่งขันที่จัดขึ้นสหพันธ์กีฬาลีลาศนานาชาติ